เครื่องแต่งกายไททรงดำ

เสื้อไท

เป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอกปลายแขนแคบ คอตั้งผ่าหน้าตลอด ไม่มีปกตัดเย็บเข้ารูป กระดุมที่ใช้ติดใช้กระดุมเงินยอดแหลมมีลวดลายคล้ายดอกบัว ติดเรียงถี่กันประมาณ 11-21 เม็ด (ความเชื่อชาวไทยทรงดำเชื่อว่าการติดกระดุมเสื้อถี่ ๆ หรือติดกระดุมมากแสดงว่ามีฐานะ การติดกระดุมเสื้อนิยมติดเป็นเลขคี่ ถ้าเย็บเสื้อเสร็จจะต้องมีกระดุมติดตัวเสื้ออยู่ เพราะถ้าไม่มีกระดุมถือว่าเป็นเสื้อสำหรับใส่ให้คนที่เสียชีวิต) เสื้อไทมักสวมใส่ในโอกาสต่าง ๆ ทั่วไป แต่ส่วนใหญ่นิยมใส่ในงานพิธี นุกูล ชมภูนิช (2532: 39)

เสื้อฮี

เสื้อฮีของชายเป็นเสื้อคลุมแขนยาวตัวเสื้อยาวถึงสะโพกคอกลมติดคอกุ้นรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดงเดินทับด้วยไหมสีอื่น คอเสื้อด้านข้างติดกระดุมแบบคล้อง ผ่าหน้าตลอดป้ายทับไปทางซ้าย จากรักแร้ถึงชายเสื้อจะปักตกแต่งด้วยเศษผ้าไหมสีและด้ายไหมต่าง ๆ ทำเป็นลวดลาย เช่น ลายดอกแปด หรือลายขาบัว ด้านข้างตัวเสื้อทั้งสองข้างปักด้วยลายดอกมะลิ ลายดอกพรหม ลายผักกูด เป็นต้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ตัดเย็บ ใช้สวมทับเสื้ออื่นที่ใส่อยู่ก่อนแล้วจะใช้ในงานพิธีสำคัญโดยเฉพาะ พิธีเสนเรือน แต่งงาน, งานศพ เป็นต้น ลักษณะของเสื้อฮีมี 2 ด้าน ด้านนอกจะมีลวดลายตกแต่งน้อย ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ส่วนด้านใน จะมีลวดลายสีสันหลากหลาย ใช้ใส่ให้กับผู้ตาย และใช้คลุมโลงศพ เสื้อฮีนี้จะใช้ใส่กับส้วงฮี (กางเกงขายาว) ประทับใจ สิกขา (2551:49)

เสื้อห่งเห่ง

เป็นเสื้อแขนยาวคอตั้ง ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีดำ มีสาบเสื้อติดกระดุม 5 เม็ด ชายเสื้อด้านข้างแหวกไว้ สองชายประมาณ 1 คืบ ใช้ใส่ทำไรทำนา ประทับใจ สิกขา (2551:36)

เสื้อต๊ก

เสื้อต๊ก คือ เสื้อที่ใส่ไว้ทุกข์เมื่อญาติผู้ใหญ่เสียชีวิต ผู้ที่จะใส่ คือ ลูกหลานญาติสายโลหิจเดียวกัน เสื้อต๊กใช้แบบเดียวกันทั้งชายและหญิง มีลักษณะเป็นเสื้อไม่มีแขน คอแหลม ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตัดเย็บอย่างไม่ประณีตจากผ้าฝ้ายดิบสีขาว เนื่องจากใช้ในงานศพชั่วคราว หากพ่อแม่เสียชีวิต ลูกๆต้องโพกศีรษะด้วยผ้าขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมแล้วพับเป็นสาวเหลี่ยมโพกศีรษะ หากสามีเป็นสามีภรรยากันเมื่อสามีตายภรรยาจะไม่ต้องใส่เสื้อต๊ก แต่จะใส่ผ้าซิ้นที่เลาะตีนซิ้นออก ประทับใจ สิกขา (2551:54)

ส้วงเต้น หรือ ส้วงก้อม

(ก้อม หมายถึง พอดีตัว)

เป็นกางเกงขาสั้นปลายขาแคบเรียวยาวปิดแค่เข่า ขอบกางเกงส่วนเอวกว้างแบบกางเกงจีน ทำด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมดำด้วยครามหรือฮ่อม ใช้นุ่งกับเสื้อไทสำหรับทำงานทั่วไป

นุกูล ชมภูนิช (2532: 39)

ส้วงฮี

(ฮี แปลว่า ยาว)

มีลักษณะเช่นเดียวกับกางเกงขาสั้นแต่ขากางเกงจะยาวถึงตาตุ่ม ใช้นุ่งในพิธีการสำคัญและเทศการต่าง ๆ เช่น พิธีเสนเรือน พิธีแต่งงาน หรือการเล่นคอนฟ้อนแคน

นุกูล ชมภูนิช (2532: 39)

ฝักแอ้ว, กระเป๋าฝัก

กระเป๋าคาดเอว เป็นเครื่องแต่งกายของผู้ชายชิ้นหนึ่งที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะใช้คาดทับนอกเสื้อตรงเอวไว้สำหรับใส่ของใช้ประจำตัวต่าง ๆ เช่น ยาสูบ ไฟจุดยาสูบ หมากพลู เงินสำหรับใช้จ่าย กระเป๋าคาดเอวทำด้วยผ้าสีดำสลับด้วยผ้าสีแดง เขียว เหลือง ขาว อย่างสวยงาม ปลายสายเย็บกลึงให้กลมเรียวเล็กตอนปลายมีภู่ทำด้วยด้ายสีต่าง ๆ ทั้งสองปลาย ตรงกลางสายเป็นผ้าตัดเย็บเป็นที่ใส่ของคล้ายกระเป๋าหนังมีฝ่าปิด นุกูล ชมภูนิช (2532: 39)

เสื้อก้อม

เป็นเสื้อตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายย้อมดำ แขนยาวทรงกระบอกตัดเย็บเข้ารูป คอตั้งผ่าหน้าตลอดตัวเสื้อมีความยาวเหนือสะโพก ติดกระดุมเงินถี่ ประมาณ 9-15เม็ด ใช้ใส่คู่กับผ้าซิ่น เป็นชุดลำลอง หรือใส่ได้ทุกโอกาส นุกูล ชมภูนิช (2532: 41)

เสื้อฮี

เสื้อฮีของฝ่ายหญิง มี 2 ด้านใช้สวมใส่ตามโอกาสเช่นเดียวกับของฝ่ายชาย แต่ตัวเสื้อมีลักษณะคอแหลมลึก ใช้สวมหัว ไม่ผ่าหน้าหญิงไททรงดำที่เป็นสะใภ้ของเรือนจะต้องใส่เสื้อฮีคาดทับเสื้อตัวใน

เสื้อห่งเห่ง

เป็นเสื้อคอตั้งติดกระดุม 5 เม็ด ใส่ทำงาน เช่นเดียวกับชาย

ประทับใจ สิกขา (2551:36)

เสื้อแขนจิ๊ด

เป็นเสื้อที่หญิงไทยทรงดำใช้ใส่อยู่บ้านเป็นเสื้อสีดำแขนกุด คอกลมลึกตัวเสื้อยาวแค่เอวเข้ารูปผ่ากระดุมด้านหน้าติดกระดุม 5 เม็ด หญิงชราใช้ใส่อยู่กับบ้านและงานที่ไม่สำคัญนัก

สมทรง บุรุษพัฒน์ และคนอื่น ๆ (2554: 80-81)

ผ้าซิ่นลายแตงโม

ผ้าซิ่นลายแตงเป็นผ้าถุงสีดำ พื้นมีลายเป็นเส้นสีขาวขนาดเล็ก ๆ ยาวตามแนวตั้ง ทอด้วยเส้นด้ายสีดำสลับเส้นด้ายสีขาวหรือฟ้าอ่อนเป็นลาย คล้ายลายผลของลูกแตงโม ทำให้ผ้าซิ่นมีชื่อเรียกว่า ผ้าซิ่นลายแตงโม  ผ้าซิ่นผืนหนึ่งมีการตัดเย็บเป็นพิเศษไม่เหมือนกับผ้าถุงทั่ว ๆ ไปคือ ประกอบด้วยผ้า 3 ชิ้นต่อกัน ชิ้นที่ 1 อยู่ท่อนบนสุดของผ้าซิ่น เป็นผ้าสีดำล้วนไม่มีลวดลายยาวประมาณ 12 นิ้ว เย็บติดกับชิ้นที่ 2 ซึ่งเป็นตัวซิ่น ตัวซิ่นนี้เป็นผ้าพื้นดำทอลายสีขาวเป็นทางลงกว้างประมาณ 0.1 ซม. ถึง 0.5 ซม. ลายเส้นสีขาวแต่ละเส้นห่างกันประมาณ 1-2 นิ้ว สลับกันระหว่างเส้นใหญ่และเส้นเล็ก ลายเส้นใหญ่คู่กัน หมายถึง ชาวไทยและชาวลาวเคยเป็นพี่น้องกัน ลายเส้นเล็กและเส้นใหญ่เดี่ยว หมายถึง การแยกย้ายจากกัน ส่วนชิ้นที่ 3 เป็นผ้าแถบมีความกว้าง 1 นิ้ว ยาวรอบตัวซิ่นเย็บติดอยู่ตอนปลายสุดของตัวซิ่นเรียกว่า ตีนซิ่นผ้าแถบส่วนนี้เป็นลวดลายที่ทอขึ้นทั้งชิ่นมีลายละเอียดเป็นทางสีขาว ๆ ยาวตลอดเส้น 2-3 ทาง สีดำ-ขาวตีนซิ่นนี้ถ้าสามีตายจะต้องเลาะออกเป็นการไว้ทุกข์จนกว่าจะออกทุกข์จึงนำมาเย็บติดใหม่วิธีนุ่งชิ่นของไทยทรงดำจะเป็นเอกลักษณ์ จะหยิบขอบของซิ่นทั้งด้านซ้ายและขวาป้ายให้มาทับกันตรงกลางเอวแล้วพับขอบลงมาม้วนกับเข็มขัดเงิน ชายผ้าซิ่นจะคลื่ออกทำให้ชายซิ่นด้านหน้าเผยอสูงกว่าด้านหลัง นุกูล ชมภูนิช (2532: 40)

ผ้าเปียว

เสื้อต๊ก คือ เสื้อที่ใส่ไว้ทุกข์เมื่อญาติผู้ใหญ่เสียชีวิต ผู้ที่จะใส่ คือ ลูกหลานญาติสายโลหิจเดียวกัน เสื้อต๊กใช้แบบเดียวกันทั้งชายและหญิง มีลักษณะเป็นเสื้อไม่มีแขน คอแหลม ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตัดเย็บอย่างไม่ประณีตจากผ้าฝ้ายดิบสีขาว เนื่องจากใช้ในงานศพชั่วคราว หากพ่อแม่เสียชีวิต ลูกๆต้องโพกศีรษะด้วยผ้าขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมแล้วพับเป็นสาวเหลี่ยมโพกศีรษะ หากสามีเป็นสามีภรรยากัน เมื่อสามีตายภรรยาจะไม่ต้องใส่เสื้อต๊ก แต่จะใส่ผ้าซิ้นที่เลาะตีนซิ้นออก ประทับใจ สิกขา  (2551:54)

ผ้าซิ่นตาหมี่

เส้นใยทอจากไหม ลวดลายสวยงาม ทักทอรูปสัตว์แทรกเป็นลาย สะท้อนถึงความเชื่อ และภูมิปัญญา มักใช้ในพิธีเสนเรือน

ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมนำมาใช้เพราะทอยากแต่เดิมผ้าซิ่นตาหมี่นี้ใช้ในชาวไทยทรงดำชนชั้นปกครองเท่านั้น

งอบ

งอบสานด้วยไม้ไผ่รูปทรงเหมือนงอบใบลานของไทยใช้ใส่ทำงานนอกบ้าน ใส่เดินทาง และใช้ในพิธีแต่งงาน

นุกูล ชมภูนิช (2532: 40)

ไต้

ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีขาวและแดงมีสายสะพายในตัว สำหรับลวดลายของย่าม นิยมวางลวดลายเป็นแนวตั้ง โดยใช้สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีขาวไว้ใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น มีด หมาก พลู หรือใส่ของสำหรับเดินทางและ ใช้ในพิธีแต่งงาน (หากใช้ใส่ของไปทำไร่นาจะใช้ย่ามสีขาว หากใช้ในพิธีแต่งงานจะใช้ย่ามสีแดง) ประทับใจ สิกขา  (2551:61)

มีดเหน็บมีฝัก

เป็นมีดขนาดใหญ่เท่ามีดโต้แต่ปลายแหลมมีฝักและสายสะพาย ใช้ในพิธีแต่งงานและเดินทาง มีประโยชน์ในการตัดไม้ จักตอก ป้องกันตัว ฯลฯ นุกูล ชมภูนิช (2532: 40)

ต่างพวง

ต่างหูทำด้วยเงิน ที่นิยมใช้เป็นก้านยาว งอลงมามี 3 แบบ แบบสาว เรียกว่า สากกระเบือน้ำหยด (หยดน้ำ) รูปร่างคล้ายไม้ตีพริกห้อยตุ้งติ้ง สาวใหญ่คล้ายดอกพิกุลแต่ก้านยาว ต่างหูเป็นลักษณะกลมใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ตรงใส่รูหูจะใหญ่ 1 เซนติเมตร ต่างหูเป็นสัญลักษณ์ ประจำตัว ผู้สูงอายุ

ยุกาญจน์ เจียมจิระพร และคนอื่น ๆ (2542: 23)

เป๊าะแกง

ลักษณะเหมือนกำไลข้อมืออาจมีลวดลายต่างกันออกไปตามการออกแบบ ยุกาญจน์ เจียมจิระพร และคนอื่น ๆ (2542: 24)

เป๊าะแขน

ใช้ลวดเงินตันตีปลายให้เรียวพาดทับกันได้สนิทและขยายออกได้ ยุกาญจน์ เจียมจิระพร และคนอื่น ๆ (2542: 23)

ไม้ขัดเกล้า

ทำด้วยเงินตีเป็นแท่งยาวเท่าตะเกียบผิวเกลี้ยง งอทำเป็นสองขา ยุกาญจน์ เจียมจิระพร และคนอื่น ๆ (2542: 24)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy